การวางแผนวางแผนการตลาดออนไลน์ การขายเบื้องต้นแบบง่ายๆ

สมมติว่านาย A กับ นาย B ขายสินค้าชนิดเดียวกัน กลุ่มลูกค้ากลุ่มเดียวกัน พื้นที่ในการขายก็ระแวกเดียวกัน และที่สำคัญที่สุด ขายราคาเท่ากัน ผู้อ่านคิดว่าใคร ? จะขายดีกว่ากันครับ

คำตอบที่ถูกต้องไม่ใช่นาย A หรือ นาย B แต่คือ คนที่วางแผนการตลาดออนไลน์ หรือ การขายก่อนขายสินค้าก่อนที่จะลงมือขายนั่นเอง

การวางแผนการตลาดออนไลน์เบื้องต้นแบบง่าย

ถ้ายังไม่เห็นภาพผมจะยกอีกสักตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนะครับ สมมติว่านายหนึ่งกับนายสองขายทุเรียนอยู่ติดกันในตลาดแห่งหนึ่งแถวดอนเมือง นายหนึ่งและนายสองก็รับทุเรียนมาจากที่เดียวกันคือจันทบุรี ฉะนั้นบวกลบค่าขนส่งแล้วจึงตั้งราคาขายที่เท่ากัน นายหนึ่งสั่งทุเรียนมาทีละน้อยๆเพราะกลัวขายไม่หมด เมื่อนำมาแล้วจึงขายให้หมดพอเป็นวันๆไป กลับกันนายสองซื้อทุเรียนมาทีละมากๆ เพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลงเพราะเหมาซื้อ โดยวางแผนไว้แล้วว่า หากวันนี้ขายไม่หมดก็จะนำไปขายให้พ่อค้ารายย่อยรายอื่นในตลาดใกล้เคียง ส่วนที่เหลือจริงๆจะวางแผนนำมาทำเป็นทุเรียนทอดขายอีกทีที่ร้าน

จากตัวอย่างผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า การวางแผนก่อนการขายนั้นจะช่วยให้นายสองมีผลกำไรที่มากกว่านายหนึ่ง เนื่องจากมีการวางแผนการในการขายเอาไว้ จึงทำให้เกิดช่องทางการขายที่มากขึ้น ซึ่งนั่นก็มีโอกาสทำให้ประสบความสำเร็จในการค้าขายได้มากกว่าการนำมาขายให้หมดๆเป็นวันๆ โดยไม่วางแผนก่อน

ถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงเริ่มมองเห็นแล้วนะครับ ว่าการวางแผนก่อนการลงมือขายจริงมีประโยชน์ยังไง การค้าขายคือการทำธุรกิจครับ ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ การวางแผนการขายนั้นย่อมมีความสำคัญและควรทำมาเป็นอันดับแรก

แต่หลายคนอาจมองว่า การวางแผนการขายนั้นเป็นเรื่องยากและไกลตัวมากๆ เพราะเชื่อว่าการวางแผนการตลาดให้ออกมาดีเยี่ยม และมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยการเรียนหรือศึกษาทางด้านนี้มา จึงไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรา หากไม่รู้จะเลือกเรียนอะไรดีในระดับมหาวิทยาลัย คณะยอดนิยมคณะหนึ่งที่ต้องเลือกคือคณะบริหาร หากเราไม่ได้เรียนทางสายนี้มาล่ะ? ต้องไปจ้างคนที่มีประสบการณ์มาวางแผนให้คงต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลแน่ๆ

ผมคงไม่เถียงกับคำพูดข้างต้น ที่ว่าคนที่ทำแผนการตลาดออกมาได้ดีนั้นต้องได้รับการศึกษา หรือมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ เพราะคนเหล่านั้นย่อมคิดและเขียนแผนการตลาดออกมาได้ดีอยู่แล้ว แต่การที่ไม่มีแผนการตลาดใดๆ ก่อนจะขายสินค้านั้นเปรียบเหมือนก้าวเข้าสู่สงคราม (การค้า) โดยปราศจากอาวุธ และอาจยืนระยะในสนามนี้ได้ไม่นานก็ล้มหายจากกันไป

วันนี้ผมอยากให้คุณผู้อ่านเปลี่ยนความคิดกันใหม่ ว่าจริงๆแล้วแผนการตลาดนั้นใครคิดก็ได้ครับ ขอให้เหมาะกับตัวเราและสินค้าของเรา แผนของเราอาจจะไม่ได้เลิศเลอเพอร์เฟ็คอย่างใครคนอื่น แต่อย่างน้อยที่สุดแล้วการวางแผนก่อนการขายจริงย่อมเหมือนกับว่าเรามีอาวุธอยู่ในมือก่อนลงสนามเช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าไม่มีอาวุธใดบนโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบ ของแผนการตลาดก็เช่นกัน

สรุปการวางแผนการตลาดออนไลน์แบบง่ายๆ

ทีนี้เราจะมาเริ่มต้นวางแผนการตลาดแบบง่าย ๆ โดยไม่อิงตำรา (แต่ถ้าใครศึกษาเพิ่มเติมด้วยได้ก็ดีครับ) กันนะครับโดยผมจะสรุปเป็นข้อๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้

  1. การหาสินค้าที่เหมาะกับผู้ขาย และเป็นที่ต้องการของตลาดในขณะนั้น และที่สำคัญในกรณีที่ขายออนไลน์สินค้านั้น ต้องเหมาะกับช่องทาง หรือแพลตฟอร์มที่คุณผู้อ่านเลือกที่จะขายด้วย (ซึ่งในหัวข้อนี้ผมจะขออธิบายเพิ่มเติมในบทความหน้าครับ)
  2. การตั้งราคาขายให้เหมาะสม เรื่องนี้อาจจะต้องพิจารณากันหลายตลบหน่อย เพราะคำว่าเหมาะสมในแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน วันนี้ผมจะขอแนะนำคร่าวๆ ง่ายๆ ดังนี้นะครับ โดยการตัดสินใจจะตั้งราคาขายให้แบ่งเป็นก้อนๆดังนี้

ก้อนที่ 1 ต้นทุน คือ ราคาที่ซื้อสินค้ามา+ค่าขนส่งสินค้าไปหาลูกค+ค่าใช้จ่ายเกระจุกกระจิกเช่น ค่าเดินทางไปรับของๆเรา ค่าถุงห่อเป็นต้น เช่น สินค้าเราได้มาที่ราคา 100 บาท ค่าขนส่งครั้งละ 40 บาท ค่าใช้จ่ายกระจุกกระจิก 20 บาท ฉะนั้นต้นทุนเราจะอยู่ที่ 160 บาท

ก้อนที่ 2 ค่าโฆษณา เช่น FACEBOOK ADS หรือ GOOGLE ADS (ในกรณีที่คุณทำการตลาดบนโลกออนไลน์ และตัดสินใจว่าจะใช้เงินโปรโมทสินค้าคุณในแพล็ตฟอร์มหรือแอพพลิเคชั่นนั้น โดยปกติแนะนำให้เป็น 30-40% ของต้นทุน เช่น หากของเราต้นทุนอยู่ที่ 100 บาท ควรบวกค่าโฆษณาไปด้วยอีก 40% ดังนั้นต้นทุนของเรา+ค่าโฆษณาจะเป็น 100+40 = 140 บาท

ก้อนที่ 3 กำไรและราคาขาย เมื่อได้ราคาต้นทุน+ค่าโฆษณา ตอนนี้ก็ถึงเวลาคิดคำนวนว่าอยากได้กำไรเท่าไหร่กับของชิ้นนี้ โดยพยามอิงกับราคาตลาดส่วนใหญ่ก็จะดีครับ เช่น ต้นทุน+ค่าโฆษณา อยู่ที่ 140 บาท เราตั้งราคาขายสัก199 บาท ก็จะได้กำไรในราคาชิ้นละ 49 บาทนั่นเอง

  1. การวางแผนหาช่องทางการขายที่เหมาะสม แนะนำว่าควรขายในหลายๆช่องทาง โดยเฉพาะหากขายของออนไลน์แพลตฟอร์มต่างๆ เล่น FaceBook ไม่ควรผูกติดกับแอพพลิเคชั่นเดียว แต่ควรมีการขายในหลายๆ แอพพลิเคชั่น เช่น เฟสบุ๊ก ไลน์ ชอปปี้เป็นต้น โดยอาจแบ่งสัดส่วนในการทุ่มงบประมาณไปเช่น ให้เฟสบุ๊กขายเป็นหลักก็ทุ่มงบในการโฆษณามากหน่อย ส่วนแอพพลิเคชั่นอื่นๆก็ลดหลั่นกันลงมาครับ

นี่เป็นหลักการเบื้องต้น ในการทำแผนการตลาดแบบง่าย ทำเว็บไซต์ที่รองรับseo ที่ควรจะทำก่อนขายสินค้า หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย ยังไงแล้วก็ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จ กับการค้าขายกันทุกคนนะครับ อย่าลืมติดอาวุธก็ลงสนามรบกันนะครับ แล้วพบกันบทความหน้าจ้า

เครดิต: บริษัท ซี๊ดดิจิเทนท์ จำกัด